การประเมินความสามารถด้านการอ่านออกเขียนได้ของผู้เรียน (Reading Test : RT) ระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1 ปีการศึกษา 2561 และ 2562 ของโรงเรียนบ้านหนองสองพี่น้อง สพป.ตรัง เขต 2 พบว่าคะแนนเฉลี่ยลดลง แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้คุณครูสุธาทิพย์ ชัยแก้ว ครูโรงเรียน
บ้านหนองสองพี่น้อง คิดค้นรูปแบบการพัฒนาด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนขึ้น โดยใช้แนวคิดนวัตกรรม
Dr. Life Model (ชีวิตที่ดี เริ่มต้นที่พื้นฐานอ่านเขียน) เพื่อยกระดับการเรียนรู้สู่การอ่านออก เขียนได้ ลายมือสวย
ตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการสอบ RT สูงขึ้น มีผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนสูงขึ้น และพัฒนาทักษะการเขียนด้วยลายมือสวยให้สูงขึ้น อีกทั้งต้องการให้ผู้เรียนมีทักษะในการสื่อสารทางภาษาไทยไม่ว่าจะเป็นการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนให้มีประสิทธิภาพซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการเรียน
ในระดับชั้นที่สูงขึ้นด้วยรูปแบบ Dr. Life Model (ชีวิตที่ดี เริ่มต้นที่พื้นฐานอ่านเขียน) ได้นำมาใช้ในปีการศึกษา 2563 ดำเนินงานตามขั้นตอนของกระบวนการ PDCA ดังนี้
P : ขั้นวางแผน ผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้ปกครอง ร่วมศึกษาสภาพปัญหาความต้องการของผู้เรียน วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคล ร่วม PLC วางแผนและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ของนักเรียน ร่วมกันสังเคราะห์จนเกิดเป็น “Dr. Life Model (ชีวิตที่ดี เริ่มต้นที่พื้นฐานอ่านเขียน) ” เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
D : ขั้นดำเนินงาน มีกิจกรรมดังนี้
D : Dance (เต้น/เล่น ขยับกาย ขยายสมอง) ทุกเช้าหลังจากนักเรียนทำกิจกรรมหน้าเสาธงแล้วจะมีกิจกรรม Dance โดยครูเปิดเพลง หรือวิดีโอจากสื่อต่าง ๆ นักเรียนและครูเต้นตาม ขยับกายเข้าจังหวะตามเพลง ทำให้ ผู้เรียนตื่นตัวและเตรียมพร้อมรับการเรียนรู้
r : Read (อ่านนิทานยามเช้า) เมื่อสมองของนักเรียนเกิดการตื่นตัว พร้อมรับการเรียนรู้ จากนั้นให้นักเรียนทำกิจกรรม Read คือ การอ่านนิทานหรืออ่านเรื่องสั้น ๆ ตามที่นักเรียนสนใจ แล้วมาอ่านให้เพื่อน ๆ ฟังหน้าชั้นเรียน สลับกันไปทุกวันจนครบทุกคน
L : Learn (เรียนรู้เนื้อหาผ่านจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Active Learning) เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้
ด้วยการฝึกทักษะการอ่านออก (การอ่านสะกดคำการอ่านเป็นคำการอ่านเป็นประโยคฯลฯ) เขียนได้ (การเขียนสะกดคำ การเขียนสื่อสารเป็นประโยคการเขียนสื่อสารเป็นเรื่องสั้นๆ ฯลฯ) การฝึกคัดลายมือสวย เป็นระเบียบ และ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning : BBL)
ด้วยกิจกรรมโครงงาน (Project Method) เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง และสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
i : I (ฝึกทบทวนเนื้อหาด้วยตัวฉันเอง) หลังจากผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหา ฝึกทักษะการอ่าน การเขียนแล้ว นักเรียนฝึกทักษะอีกครั้งด้วยตนเองช่วงพักกลางวันและชั่วโมงซ่อมเสริม โดยมีครูคอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำประเมินผู้เรียนจัดกลุ่ม เก่ง ปานกลาง อ่อน
f : Friend (เพื่อนช่วยเพื่อน) Family (ผู้ปกครองช่วยฝึก) ครูจับคู่ให้เพื่อนช่วยเพื่อน เด็กเก่งคู่กับเด็กอ่อน เด็กปานกลางคู่กับเด็กปานกลาง ส่วนเด็กพิเศษคู่กับครู เพื่อฝึกทักษะการอ่าน การเขียน โดยมีครูคอยช่วยเหลือ
และให้คำแนะนำ และฝึกต่อที่บ้านโดยให้ผู้ปกครองช่วยฝึกและประเมินผลการฝึกส่งให้ครู
e : Evaluation (ประเมินผล) นำผลการประเมินการอ่าน การเขียน โดยครูและผู้ปกครองเพื่อดูพัฒนาการ และร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนาต่อไป
C : Check (ขั้นติดตาม ตรวจสอบ) ผู้บริหาร นิเทศติดตาม และประเมินผลการดำเนินกิจกรรมด้านการอ่านออก การเขียนได้ ลายมือสวยตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อติดตามและนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาผู้เรียนต่อไป
A : Act (ขั้นพัฒนา แก้ไข/ปรับปรุง) นำผลการนิเทศ ติดตามและผลการประเมินสู่การยกระดับการอ่านออก เขียนได้ ลายมือสวยตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้รูปแบบ Dr Life Model (ชีวิตที่ดี เริ่มต้นที่พื้นฐานอ่านเขียน) มาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปรับปรุงและพัฒนาให้ Dr. Life Model (ชีวิตที่ดี เริ่มต้นที่พื้นฐานอ่านเขียน)
มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ผลงานที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการสอบ RT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ในปีการศึกษา ๒๕๖๓ ให้สูงขึ้น
ความสามารถ | คะแนนเฉลี่ยร้อยละ | ||||
ระดับโรงเรียน | ระดับเขตพื้นที่ฯ | ระดับ สพฐ. | ระดับประเทศ | ||
การอ่านออกเสียง | 73.00 | 73.43 | 74.13 | 74.14 | |
การอ่านรู้เรื่อง | 80.70 | 70.73 | 72.23 | 71.86 | |
รวมการอ่านทั้ง 2 ด้าน | 76.85 | 72.08 | 73.20 | 73.02 |
ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนมีการพัฒนาขึ้นตามที่กำหนดไว้ นั่นหมายความว่า ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ความสามารถด้านการอ่านออก เขียนได้ ลายมือสวยสูงขึ้น โรงเรียนขยายผลการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้สู่การยกระดับการอ่านออก เขียนได้ ลายมือสวยตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ โดยใช้รูปแบบ Dr. Life Model (ชีวิตที่ดี เริ่มต้นที่พื้นฐานอ่านเขียน) ได้นำไปประยุกต์ ใช้ร่วมกับนวัตกรรมรถไฟรักการศึกษาร่วมพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ตามศักยภาพ ๔ ลักษณะ ส่งผลให้ปีการศึกษา ๒๕๖๓ โรงเรียนได้รับรางวัลระดับดีเด่น วิธีการปฏิบัติที่ดีการบริหารจัดการและจัดการเรียนการสอน (๑ นวัตกรรม ๑ โรงเรียน) เราทำดีต้องเผยแพร่ โรงเรียนจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในโรงเรียนประชาสัมพันธ์ในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานแก่โรงเรียนทั่วไปและ สิ่งที่เรียนรู้จากกการพัฒนา คือ ครูสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ต้องคำนึงถึงระดับความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนธรรมชาติและความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ทำให้การพัฒนาผู้เรียนประสบผลสำเร็จ